แผลติดเชื้อเป็นอย่างไร

การล้างแผล

เคยสังเกตกันหรือไม่ครับว่า “ทุกครั้งที่เด็กๆ ล้มหรือเรามีแผลเปิด เลือดออก” พวกท่านจะรีบพาเราไปล้างแผลและทำการใส่ยาฆ่าเชื้อดั่งเช่น เบตาดีนหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอลล์ทันที” ทำไมจึงต้องรีบขนาดนั้น วันนี้เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านไปค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องของ “แผลติดเชื้อเป็นอย่างไร” กันดูครับ คิดว่าน่าจะทำให้คลายความสงสัยต่างๆ นี้ได้ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเราไปชมกันเล้ยย!!!

แผลติดเชื้อคืออะไร?

แผลติดเชื้อ หรือแผลอักเสบ นั้นคือ แผลที่มีการอักเสบลุกลามเป็นบริเวณกว้างซึ่งเกิดจากการติดเชื้อที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งปนเปื้อนมากในแผล ทำให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อน หลังจากนั้นจะเกิดเป็นหนองหรือช้ำเลือดช้ำหนอง ซึ่งจะส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเริ่มตาย ส่วนใหญ่มักเป็นแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุที่ทำให้เกิดแผลเปิดตามบริเวณร่างกายนั้นเอง

บาดแผลจะกลายเป็นแผลติดเชื้อเมื่อไหร่?

เราจะสังเกตว่าแผลเริดเชื้อได้จาก จุลชีพที่อยู่บนผิวหนังของเราแต่ไม่ได้ทำอันตรายใดๆ ได้แทรกซึมผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายผ่านบาดแผล ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกจากสัตว์ หรือมนุษย์ระหว่างประสบอุบัติเหตุ, มือที่สกปรกหรือวัตถุอื่นที่ปนเปื้อนเชื้อโรคสัมผัสถูกบาดแผลหรือแผลโดนน้ำ แล้วไม่รักษาแผลโดยไว จึงเกิดเป็นหนองหรืออาการติดเชื้อลามมากขึ้น

อาการทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นหลังแผลติดเชื้อ

อาการของแผลติดเชื้ออาจปรากฏใน 2-3 วันหลังจากเกิดแผล, รู้สึกอุ่น ผิวหนังใกล้ๆ บาดแผล และแผลบวมขึ้นม, รู้สึกปวดบริเวณบาดแผลมากขึ้น, บาดแผลมีกลิ่นเหม็น, บาดแผล มีเลือดหรือหนอง นอกจากนี้ยังทำให้มีไข้ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าการติดเชื้อรุนแรงขึ้นและต้องรีบไปสถานพยาบาลโดยด่วนครับ

การล้างแผลเป็นอย่างไร?

การล้างแผล คือ การทำความสะอาดขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล ตกแต่ง และค้ำจุนแผล โดยการล้างแผลมีวัตถุประสงค์คือ ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่แผลทางผิวหนัง ป้องกันไม่ให้แผลได้รับอันตรายเพิ่มขึ้น และช่วยกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น โดยแบ่งการล้างแผลออกเป็น 2 วิธี อันได้แก่…

การล้างแผลชนิดแห้ง (Dry dressing) คือ การล้างแผลที่ไม่ต้องใช้ความชุ่มชื้น ช่วยในการหายของแผล ใช้ในการล้างแผลที่สะอาด ปากแผลปิด เช่น แผลผ่าตัดซึ่งเป็นแผลที่สะอาด และเย็บไว้ เป็นต้น

การล้างแผลชนิดเปียก (Wet dressing) คือ การล้างแผลที่ต้องใช้ความชุ่มชื้น ช่วยในการหายของแผล ใช้ในการล้างแผลเปิด การล้างแผลชนิดนี้จะใช้เมื่อแผลมีการสูญเสียเนื้อเยื่อ หรือ มีการหายแบบทุติยภูมิ เพื่อช่วยในการขจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว เช่น แผลกดทับ แผลมีหนอง แผลผ่าตัดที่มีการติดเชื้อแล้วขอบแผลแยก เป็นต้น

ทำไมถึงต้องทำแผลและล้างแผลทุกวัน

●ทำเพื่อแผลป้องกันการปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลทางผิวหนัง
●ส่งเสริมกระบวนการหายของแผล
●เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของแผล เฝ้าระวังอาการอักเสบ และติดเชื้อของแผล

หากลืมล้างแผลต้องทำอย่างไร

พบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประเมินลักษณะของแผล รวมถึงอาการบวม แดง หนอง เพื่อทำแผล ล้างแผลให้เหมาะสม และพิจารณารับยาปฏิชีวนะหากพบการติดเชื้อ

ขั้นตอนการล้างแผล

–          ล้างมือให้สะอาดก่อน/หลังทาแผล เพื่อลดจานวนเชื้อโรคที่มือ

–          ล้างแผลด้วยน้้ำสะอาดแล้วซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด

–          ใช้สาลีสะอาดชุบน้ายาแอลกอฮอล์เช็ดรอบๆแผลเท่านั้น ห้ามเช็ดในบาดแผล เนื่องจากอาจทาอันตรายต่อ เนื้อเยื่อของแผลได้

–          ใช้สาลีสะอาดชุบน้าเกลือทาความสะอาดแผลหรือน้าสะอาดเช็ดในบาดแผล โดยเช็ดจากข้างในวนออกมาข้างนอกในทางเดียวกัน ไม่ควรเช็ดขึ้นลงหรือสลับไปมา

–          ใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน ลงบนแผลเพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ

–          ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้ากอซ ไม่ควรใช้สาลีปิดแผลเพราะเมื่อแผลแห้งแล้วจะติดกับสาลีทาให้ดึงออกยาก เกิดความเจ็บปวดและอาจทาให้เลือดไหลได้อีกนั้นเองครับ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “แผลติดเชื้อเป็นอย่างไร” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความนี้กันนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นคำตอบที่ท่านต้องการนะครับ

You Might Also Like