5 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล

เรื่องอุบัติเหตุและอาการบาดเจ็บจากการทำกิจกรรมต่างๆ นั้น นับว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวเราทุกๆ คนเป็นอย่างมาก จึงทำให้สิ่งที่จำเป็นอันดับต้นๆ ของการดูแลขั้นต้นนั้นก็คือ “การปฐมพยาบาล” นั้นเองครับ วันนี้เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านไปพบกับ “5 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการประถมพยาบาล” พร้อมกับมองหายาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดเอาไว้ว่ามีอะไรบ้างกันเพิ่มเติมครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา…เราไปชมกันดีกว่าครับ

การปฐมพยาบาลคืออะไร?

การปฐมพยาบาลคือให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อพบอุบัติเหตุแก่ผู้บาดเจ็บก่อนนำส่งโรงพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น พิการ หรือเสียชีวิต ในการช่วยเหลืออาจใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ในขณะนั้น เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์นั้นเองครับ โดยชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาลทั่วๆ ไปนั้นจะมีทั้งรูปแบบที่เป็นถุงที่มีลักษณะแข็งแรง ทนทาน หรือเป็นกล่องพลาสติกใส ชุดประถมพยาบาลส่วนใหญ่จะมีสัญลักษณ์กากบาทสีขาวบนพื้นสีเขียวอยู่บนชุดปฐมพยาบาล

ตัวอย่างของที่อยู่ในชุดปฐมพยาบาล: เอกสารกำกับยา, เข็มกลัดซ่อนปลาย, สำลี, หน้ากากอนามัย, ผ้าก็อชปิดแผล, แผ่นปิดแผลหรือเรียกอีกอย่างว่าพาสเตอร์, แอลกอฮอล์ล้างแผล, กรรไกร, แหนบ

5 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก

บาดแผลถลอกหมายถึงการเป็นบาดแผลที่เกิดจากการถูกขีดข่วน ถูกถูหรือถูกครูด บาดแผลชนิดนี้จะตื้นเพียงแค่ผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น และมีเลือดออกเล็กน้อย อันตรายของบาดแผลอยู่ที่การติดเชื้อ บาดแผลถลอกที่พบได้เสมอ คือ การหกล้ม เข่าถลอก ดังนั้นเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นต้องรีบปฐมพยาบาล  เพื่อลดอาการเจ็บปวดและป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

– ชำระล้างบาดแผลด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด ถ้ามีเศษหิน ขี้ผง ทราย อยู่ในบาดแผลให้ใช้น้ำสะอาดล้างออกให้หมด

– ใช้ปากคีบสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% พอหมาดๆ เช็ดรอบๆ บาดแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรครอบๆ (ไม่ควรเช็ดลงบาดแผลโดยตรง เพราะจะทำให้ เจ็บแสบมาก เนื่องจากยังเป็นแผลสด)

– ใช้สำลีชุบเบตาดีนหรือโปรวิดี ไอโอดีน ใส่แผลสด ทาลงบาดแผล แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ต้องปิดบาดแผล ยกเว้นบาดแผลที่เท้าซึ่งควรปิด ด้วยผ้าก๊อซสะอาด เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และต้องระวังอย่าให้บาดแผลถูกน้ำ รอจนกว่าแผลจะแห้งจึงค่อยนำผ้าก๊อชออก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการทำ CPR ซึ่งการทำจะทำ CPR นั้นจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและไม่หายโรยริน จึงต้องทำการปั้มหัวใจด่วน

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

– หากพบเห็นคนได้รับบาดเจ็บนอนอยู่ ให้ตบที่ไหล่ของผู้ประสบภัยพร้อมพูดคุยกับเขา หากไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ให้เรียกรถพยาบาล และตรวจสอบว่ายังหายหรือไม่ใจโดยสังเกตการเคลื่อนไหวบริเวณหน้าอกและท้อง
– หากการหายใจไม่ปกติให้กดหน้าอก 30 ครั้ง
– เมื่อกดหน้าอกเสร็จแล้วให้ดันคางขึ้นพร้อมกับกดหน้าผากให้แหงนหน้าขึ้นเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่งแล้วจึงผายปอด 2 ครั้ง
– หลังจากนั้นใหกดหน้าอก 30 ครั้งและผายปอด 2 ครั้ง โดยทำซ้ำไปมา หากกลัวว่าจะติดโรคให้กดหน้าอกอย่างเดียวไม่ต้องผายปอด           

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีเลือดออก หากมีเลือดออกมากให้ใช้วิธีห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซกดปากแผลให้แน่นและเมื่อกดแผลแล้วเลือดยังไม่หยุดไหล ให้ใช้วิธีห้ามเลือดโดยกดบริเวณจุดห้ามเลือดที่ใกล้กับหัวใจ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อกระดูกหัก พยายามอย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมากจนเกินไป ให้ทำการประเมินอาการแล้วจึงถอดรองเท้าและตัดเสื้อผ้าออก  เพราะอาจมีอาการบวมขึ้นหลังจากกระดูกหัก พยายามใช้หนังสือ กระดาษแข็ง หรือแผ่นไม้มัดส่วนที่กระดูกหักไว้แทนการใส่เฝือก ให้ผู้ป่วยนอนราบ ไม่พยายามเคลื่อนย้ายจนกว่าหน่วยช่วยเหลือจะมาจะเป็นดีที่สุดครับ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีแผลไฟลวก  เมื่อเกิดอุบัติเหตุโดนไฟลวก ให้ทำการแช่บริเวณที่ถูกไฟลวกในน้ำมากกว่า 15 นาที เพื่อให้อุณหภูมิลดลง ไม่พยายามถอดชุดออก หรือเสื้อผ้าที่ในบริเวณที่โดนไฟลวกออก จากนั้นให้ราดน้ำเบา ๆ จากบนชุดระมัดระวังอย่าแกะแผลพุพองให้แตก เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และหากแผลเกิดเป็นวงกว้างจะต้องได้รับการประเมินอาการจากแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่ดีที่สุดอีกด้วยครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “”5 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล” ที่เราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้นนี้ครับ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านที่กำลังมองหาเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเพื่อเป็นความรู้กันไม่มากก็น้อยนะครับ

You Might Also Like