หลักการทำกายภาพที่ดี

การทำกายภาพ

หากว่ากันด้วยเรื่องของการดูแลสุขภาพร่างกายของทุกๆ ท่านแล้วนั้น หลายๆ ท่านก็คงจะมีแนวทางในการใส่ใจดูแลร่างกายของตนในแบบฉบับที่แตกต่างกันออกไป แต่มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญและควรค่าแก่การทำให้ทุกๆ การออกกำลังหรือการบริหารกล้ามเนื้อ ซึ่งที่เราจะมากล่าวถึงในบทความนี้นั้นก็คือ “การทำกายภาพ” มาพร้อมกับ “หลักการทำกายภาพที่ดี” ให้กับทุกๆ ท่านกันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

การทำกายภาพคืออะไร?

การทำกายภาพ คือ เป็นการฟื้นฟู และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การดึง นวด ประคบ ร่วมกับการบริหารร่างกายสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ มีอาการปวด หรือได้รับผลข้างเคียงจากอาการเจ็บป่วยจนทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่เต็มที่

การทำกายภาพ ช่วยอะไรได้บ้าง?

การทำกายภาพบำบัดมีจุดประสงค์หลักเพื่อฟื้นฟูร่างกาย และเสริมสร้างความสามาถในการใช้ร่างกาย เพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดจะมุ่งเน้นที่การบรรเทาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการใช้ร่างกายของคุณ ซึ่งสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

  • บรรเทาอาการปวด
  • ป้องกัน หรือฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บ
  • ป้องกันความพิการ หรือลดโอกาสที่จะต้องผ่าตัด
  • ป้องกันการล้มหรือลื่น โดยทำให้ร่างกายมีความสมดุลมากขึ้น
  • มีส่วนช่วยให้ควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้มากขึ้น
  • มีส่วนช่วยประคองอาการจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน
  • เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ฟื้นฟูร่างกายหลังจากผ่าตัด
  • ฟื้นฟูร่างกายของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือฟื้นฟูร่างกายหลังจากให้กำเนิดบุตร

ยกตัวอย่างประเภทของการทำกายภาพ

การทำการภาพสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

  • กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (orthopedic) นักกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหรือนักกายภาพบำบัดออโธปิดิกส์จะดูแลตรวจวินิจฉัยโรค และการบาดเจ็บของร่างกายในส่วนของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก รวมไปถึงการฟื้นฟูผู้ป่วยหลังทำศัลยกรรมออโธปิดิกส์ นักกายภาพที่เชี่ยวชาญด้านนี้ มักจะปฏิบัติงานที่คลินิกทำการรักษาผู้ป่วยจากการบาดเจ็บเฉียบพลันมีอาการปวด บวม แดง ร้อน ตามร่างกาย กายภาพบำบัดกล้ามเนื้ออักเสบ เช่น ปวดคอ บ่า หลัง ปวดไหล่ บาดเจ็บจากกิจกรรม, ข้อเสื่อม, ออฟฟิศซินโดรม, โรคกระดูกสันหลังคด ข้อติดแข็ง, การเพิ่มความแข็งแรง, หลังค่อม, และการเพิ่มการเคลื่อนไหว เป็นต้น
  • กายภาพบำบัดระบบประสาท(Neurological) นักกายภาพบำบัดระบบประสาทจะดูแลเฉพาะเจาะจงลงไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่มีภาวะโรค หรือ ความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคสมองที่ได้รับการกระทบกระเทือน, โรคสมองพิการแต่กำเนิด,โรคเส้นเลือดในสมองตีบ/แตก,โรคไขสันหลังได้รับการบาดเจ็บ สูญเสียรูปแบบการทำงานที่เคยทำเองได้ นักกายภาพบำบัดจะทำการเพิ่มพัฒนาการในส่วนที่เสียไป
  • กายภาพบำบัดระบบหัวใจและหลอดเลือด นักกายภาพบำบัดระบบหัวและหลอดเลือดจะดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจและปอดเป็นการทำหัตถการเพื่อระบายของเสียออกจากปอด ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นพังผืดที่ถุงลม โรคติเชื้อทางระบบทางเดินหายใจมีเสมหะเหนียวแห้ง โรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง และผู้ป่วยที่หลังทำการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดหัวใจ(By pass)
  • กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเด็ก นักกายภาพบำบัดผู้ป่วยเด็กจะดูแลตรวจหาปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่ม และใช้เทคนิคการรักษาเฉพาะทางสำหรับแก้ความผิดปกติของเด็ก  นักกายภาพบำบัดจะมีความชำนาญเป็นพิเศษในการวินิจฉัย ให้การรักษาและการจัดการในเด็กทารก เด็ก และวัยรุ่นเกี่ยวกับภาวะที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด การพัฒนาการ ระบบกล้ามเนื้อประสาท ระบบกระดูก และภาวะโรคหรือความผิดปกติที่เกิดหลังคลอด

แล้วหลักการทำกายภาพที่ดีต้องทำอย่างไรบ้าง?

หลักๆ แล้วกายทำกายภาพรูปแบบต่างๆ นั้นมักจะขึ้นอยู่อาการของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งการทำกายภาพจะถูกแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญและจะให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ต้องทำตามขั้นตอนวิธีการออกกำลังหรือรักษาส่วนต่างๆ ของร่างกายตามที่ได้รับคำแนะนำหรือหมอสั่งมานั้นเองครับ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “การทำกายภาพ”พร้อมกับประเภทของการทำกายภาพต่างๆ ที่น่าสนใจที่ไรวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านกันนะครับ

You Might Also Like