แนะนำอุปกรณ์ทดลองขั้นพื้นฐานในการใช้

อุปกรณ์ในห้องทดลองขั้นพื้นฐาน

ทุกๆ ครั้งที่เราดูหนังแนววิทยาศาสตร์ Sci-Fi หลายๆ ท่านคงนึกถึงการทำการทดลองเจ๋งๆ ที่จะได้ลองผสมสารที่มีสีสันแปลก จนเกิดเป็นผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่สามารถทำได้ในห้องแล็ปสุดคูลกันใช่มั้ยหล่ะครับ แล้วทุกๆ ท่านเคยนึกสงสัยกันบ้างมั้ยครับว่า ในห้องแล็ปทดลองของจริงนั้นจะมีอุปกรณ์อะไรบ้าง? สิ่งไหนเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน? จำเป็นหรือไม่จำเป็น? แต่ละชิ้นใช้ทำหน้าที่อะไรในห้องแล็ป? วันนี้เราจะขอแนะนำนอุปกรณ์ทดลองพื้นฐานต่างๆ ให้ให้ทุกๆ ท่านได้รู้จักกันครับ

ห้องแล็ปคืออะไร ?

ห้องแล็ปหรือห้องปฏิบัติการทางเคมี คือ สถานที่ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ถูกควบคุมและเป็นที่สำหรับการวิจัยการทดลองและการเก็บวัดผลค่าทางเทคนิคหรือวิทยาศาสตร์  ซึ่งห้องปฏิบัติการสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีหลายแบบตามปัจจัยทดลองหลักหรือตามแต่ละภาควิชาก็จะมีความต้องการที่แตกต่างกันไป

 แนะนำ 10 อุปกรณ์ในห้องทดลองขั้นพื้นฐาน

อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางเคมี มีหลากหลายชนิดโดยเราจะแนะนำให้ทุกๆ ท่านได้รู้จักมีดังต่อไปนี้
1. ขวดวัดปริมาตร (Flask) เป็นเครื่องมือที่ใช้เตรียมสารละลายมาตรฐานหรือสารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายเดิมได้ขวดปริมาตรมีหลายขนาดและมีความจุต่างๆ กัน มีตั้งแต่ขนาด 50 – 2,000 มิลลิลิตร โดยจะแบ่งตามรูปร่างและลักษณะการใช้งาน
2. บิกเกอร์ (Beaker) คือ ภาขนะรูปทรงกรวยมีหลายขนาดและมีความจุต่างกัน โดยที่ข้างบิกเกอร์จะมีตัวเลขระบุความจุของบิกเกอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถทราบปริมาตรของของเหลวที่บรรจุอยู่ได้อย่างคร่าวๆ มีความจุตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป ปลายปากบิกเกอร์จะงอเหมือนปากนกซึ่งเรียกว่า spout ช่วยในการเทของเหลวออกได้โดยสะดวก นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นพี่พักแท่งแก้วสำหรับผสมสารและเป็นช่องทางให้แก๊สที่อาจเกิดขึ้นระบายออกขณะมีการปิดบริเวณช่องเหนือบิกเกอร์ได้อีกด้วย
3. หลอดทดลอง (Test Tube) คือ ภาชนะสำหรับเก็บหรือบรรจุสารตัวอย่างต่างๆ ทำจากแก้ว มีหลายชนิดและหลายขนาด มีทั้งแบบที่มีปากและไม่มีปาก สามารถทดต่อความร้อนและเปลวไฟตามเกรดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ มีหน่วยความจุเป็นปริมาตรเสมอ
4. กระบอกตวง (Graduated Cylinder) ทำหน้าที่ในการวัดปริมาตรของเหลวแบบคร่าวๆ มีหลายขนาดต่างๆ กัน ไม่สามารถวัดของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงได้เนื่องจากอาจจะทำให้กระบอกตวงแตก สามารถวัดปริมาตรของของเหลวอย่างคร่าวๆ แต่หากต้องการวัดปริมาตรที่แน่นอนต้องใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรอื่นๆ เช่น พิเพทหรือบิวเรท เป็นต้น
5. กระจกนาฬิกา (Watch Glass) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวางสารตัวอย่างต่างๆ หรือใช้ในการปิดปากภาชนะประเภทอื่นๆ เพื่อห้องกันสิ่งแปลกปลอมตกลงไป มีรูปทรงคล้ายกระจกนาฬิกาเรือนกลม มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลาง กระจกนาฬิกา
6. แท่งแก้ว (Glass Rod) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับคนสารละลายให้ผสมกันเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ หรือใช้เมื่อจะเทสารละลายจากภาชนะหนึ่งลงในภาชนะอีกชนิดหนึ่ง โดยจะเทสารละลายให้ไหลไปตามแท่งแก้ว
7. บิวเรท (Burette) คือ อุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีขีดบอกปริมาตรต่างๆ และมีวาล์วสำหรับเปิด-ปิด เพื่อบังคับการไหลของของเหลว สามารถวัดปริมาตรได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
8. Stand + Clamp and Holder คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจับยึดอุปกรณ์ทดลองอื่นๆ ให้อยู่ในระดับความสูงและตำแหน่งที่เหมาะสม ทำจากด้วยเหล็กและมีไม้คอร์กหุ้มด้านในที่แตะกับแก้ว มักจะใช้ร่วมกับ Stand (ฐาน) โดยมี Clamp Holder เป็นตัวเชื่อม
9. สามขา (Tripod)  คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวางภาชนะทดลองอื่นๆ เพื่อใช้ในการรองฐานสำหรับเผาหรือให้ความร้อนแก่ภาชนะนั้นๆ  ทำจากเหล็กและความสูงของสามขาที่ใช้ขึ้นอยู่กับความสูงของตะเกียงบุนเซ็นที่ใช้คู่กัน
10. เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เป็นเครื่องมือใช้วัดอุณหภูมิของสาร ภายในเทอร์มอมิเตอร์นั้นจะใส่สารพวกแอลกอฮอล์ผสมสี บางชนิดใส่ปรอทสีเงิน หนว่ยวัดของเทอร์มอมิเตอร์จะมีตั้งแต่ช่วงอุณหภูมิ 0 – 100 องศาเซลเซียส 

และนี้คือ “อุปกรณ์ทดลองขั้นพื้นฐาน” ที่เราได้แนะนำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกันในวันนี้ นอกจาก 10 ชิ้นนี้ ยังมีอุปกรณ์ยิบย่อยอีกมากที่เรายังไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งในแต่ละห้องแล็ปก็จะมีความจำเป็นในการใช้งานแตกต่างกันไปครับ เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านรู้จักกับห้องแล็ปและอุปกรณ์มากขึ้นนะครับ

You Might Also Like